ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาเหล็ก เรื่องที่คุณควรรู้
14 Nov 2017
ปัจุบันราคาเหล็กมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของผู้ผลิต เนื่องจากทำให้มีต้นทุนการผลิตนั้นสูงขึ้นตาม ซึ่งราคาเหล็กที่สูงขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อต้นทุนอุตสาหกรรมๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยหากผู้ประกอบการไม่ทำความเข้าใจถึงสาเหตุของราคาเหล็กแล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านต้นทุนได้ โดยสาเหตุหลักๆที่ทำให้ราคาโลหะพื้นฐานในระยะนี้ปรับตัวสูงขึ้นมีดังนี้ความต้องการบริโภคที่สูงขึ้นมากในประเทศที่กำลังพัฒนาและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง
เนื่องจากการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องใช้เหล็กเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้มีความต้องการในท้องตลาดสูงขึ้น จึงเป็นผลให้ราคาเหล็กสูงขึ้นตามไปด้วย
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงในการผลิต
หากเกิดสภาวะการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงในการผลิต เช่นถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการถลุงแร่และในการผลิตกระแสไฟฟ้า ย่อมส่งผลต่อราคาเหล็ก เนื่องจากเกิดภัยพิบัติในบางประเทศผู้ผลิต ทำให้โรงงานถลุงแร่หลายแห่งต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว ทำให้ปริมาณโลหะที่เข้าสู่ตลาดลดน้อยลงและทำให้ราคาเหล็กสูงขึ้น
ราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น
หากน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและการขนส่งสูงขึ้น ไม่เพียงแต่ราคาน้ำมัน แต่ยังรวมไปถึงวัตถุดิบอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องในการผลิตเหล็ก เช่น ถ่านหิน ถ่านโค้กสำหรับหลอมเหล็ก แสตนเลส และ อะลูมิเนียม ซึ่งถ้าสิ่งเหล่านี้มีราคาแพงขึ้นก็จะส่งผลให้ราคาของเหล็กสูงขึ้นตามไปด้วย
มาตรการของทางการจีนในการควบคุมปริมาณการส่งออก
เนื่องจากจีนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคโลหะเกือบทุกตัวในลำดับต้นๆของโลก ทำให้จีนมีอิทธิพลและมีบทบาทอย่างมากกับราคาเหล็ก ทั้งในภาคพื้นเอเชีย และทั่วโลก
ปัญหาอื่นๆภายในประเทศผู้ผลิต
ปัญหาต่างๆภายในประเทศผู้ผลิตเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาเหล็กเป็นอย่างมา ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ช่วงหน้าฝนหรือการภัยพิบัติต่างๆ หรือปัญหาทางการเมือง เช่นการประท้วงของคนงานของประเทศผู้ผลิต ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการก่อสร้าง ส่งผลให้หลายโครงการต้องชะลอหรือหยุดชะงักลงในช่วงนี้ จึงทำให้ราคาโลหะเกิดจากเปลี่ยนแปลง
การกักตุนสินค้าและการผูกขาดของผู้ผลิต
ในบางครั้งอาจเกิดการกักตุนสินค้าจากทั้งทางฝั่งผู้ผลิตโลหะ และผู้บริโภคที่ซื้อโลหะเพื่อนำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตในขั้นต่อๆไป เนื่องจากอาจเกิดการคาดแคลนสินค้าสำหรับการผลิตและการขาย การซื้อขายในตลาดจึงลดลง ส่งผลให้ราคาเหล็กสูงขึ้น หรือมีการผูกขาดสินค้าของผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิตได้เปรียบทางการค้า และสามารถตั้งราคาเหล็กที่สูงได้
แน่นอนเลยว่าราคาเหล็กที่สูงขึ้นนั้น ย่อมมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในหลายๆธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบต้องเผชิญกับปัญหาด้านต้นทุน แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุดังกล่าวอาจไม่ได้ส่งผลต่อธุรกิจของท่านในทันที แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งหากเราได้ทำความเข้าใจสาเหตุและที่มาที่ไปของราคาเหล็ก ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม เราก็จะสามารถแก้ไขและปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวได้
Cr: https://positioningmag.com/41076